ใบแดง - ใบเหลือง ที่ไม่ใช่ในวงการกีฬา ของ ใบแดง

ตัวอย่างและทัศนะในบทความนี้มิได้เสนอมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง คุณสามารถพัฒนาบทความได้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งราชอาณาจักรไทย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ทำผิดกฎกติกา เช่น มีการซื้อเสียง จะได้รับใบแดง - ใบเหลือง จาก กกต.

ผู้สมัครที่รับใบแดง จะได้รับเนื่องจากกระทำผิดกติกาการเลือกตั้ง "ที่มีหลักฐานชัดเจน" จะไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนั้นๆ ได้ หากได้รับเลือกตั้งแล้ว การเลือกตั้งในเขตที่ผู้สมัครคนนั้นลงสมัครรับเลือกตั้งจะเป็นอันโมฆะ และมีการเลือกตั้งใหม่โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งคนที่ถูกใบแดงดังกล่าวจะไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีก อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 หากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองแล้วถูกใบแดง อาจส่งผลถึงการตัดสินยุบพรรคด้วย ซึ่งการยุบพรรคคือ พรรคการเมืองดังกล่าวต้องยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด และกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดจะต้องถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้ง คือ ไม่สามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือลงสมัครรับเลือกตั้งใดๆ ได้ เป็นเวลา 5 ปี

ส่วนใบเหลืองนั้น ผู้สมัครจะได้รับเนื่องจาก "มีการกระทำที่น่าสงสัย หรือเชื่อได้ว่ากระทำผิดกติกาการเลือกตั้ง" กกต. ต้องจัดการเลือกตั้งในเขตนั้นๆ ใหม่อีกครั้ง โดยที่ผู้สมัครที่ได้รับใบเหลืองยังมีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งได้